ประเภทของยา

ยา
September 16, 2023
ยา

ยา เป็นวัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ, วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์, วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์ โดยองค์กรอนามัยโลก (who) ได้ให้ความหมายของยาว่า ยา คือสารที่สารหรือผลิตภัณฑ์ที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางทางการพยาธิวิทยา ซึ่งทำให้เกิดโรค ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้รับยา

ยา ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้มาจากการสังเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ มีการศึกษาวิจัยกับสัตว์และกับคน จนเชื่อถือได้ว่าใช้กับคนได้ผล จึงนำมาใช้ได้ ซึ้งจะอยู่หลายรู้แบบ ดังนี้ ยาเม็ด(Talet) ยาแคปซูล(Capsule) ยาผง(Powder) ยาน้ำใส(solution) ยาน้ำเชื่อม(syrup) ยาอิลิกเซอร์(Elixir) ยาน้ำแขวนตะกอน(Suspension) โลชั่น(Lotion) ครีม(cream) ยาขี้ผึ้ง(ointment) เจล(Gel) และยาเหน็บ(suppository)

ประเภทของยา

ยาที่ใช้ในปัจจุบัน ตามพระราชบัญญัติ ฉบับที่ พ.ศ. 2522 จำแผนกได้ดังนี้
1. ยาแผนปัจจุบัน หมายถึง ยาที่มุ่งสำหรับการประกอบอาชีพเวชกรรมการประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน
2. ยาแผนโบราณ หมายถึง ยาที่มุ่งสำหรับการประกอบอาชีพเวชกรรมการประกอบโรคศิลปะโบราณ 

ซึ่งอยู่ในตำรายาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศใช้และและได้รับให้เป็นยาแผนโบราณ
3. ยาอันตราย หมายถึง ยาแผนปัจจุบันที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นยาอันตราย
4. ยาควบคุมพิเศษ หมายถึง ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นยาควบคุมพิเศษ
5. ยาใช้ภายนอก หมายถึง ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่มุ่งหมายสำหรับใช้ภายนอก ทั้งนี้ไม่รวมถึงยาเฉพาะที่
6. ยาเฉพาะที่ หมายถึง แผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่มุงหมายเฉพาะที่ หู ตา จมูก ลิ้น ทวารหนัก
7. ยาสามัญประจำบ้าน หมายถึง ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นยาประจำบ้าน ที่มีชื่อว่ายาตำราหลวง
8. ยาสมุนไพร หมายถึง ยาที่ได้จากพฤกษชาติ สัตว์ แร่ ที่ยังไม่ผสมปรุง หรือแปรสภาพเพื่อความสะดวกในการเก็บและมักหั่นให้มีขนาดเล็ก
9. ยา บรรจุเสร็จ หมายถึง ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่ผลิตเสร็จแล้วในรูปแบบต่างๆทางเภสัชกรรม และบรรจุในภาชนะหรือหีบห่อที่ปิดผนึกไว้ และมีฉลากครบถ้วนตามพระราชบัญญัติยา

ยาเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการรักษาความเจ็บป่วย โดยทั้งการบำบัด บรรเทาอาการทุกข์ทรมาน เช่น อาการไข้ ปวด หรือคัน และโดยการกำจัดสาเหตุของโรค เช่น ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เป็นต้น  แต่ทุกสิ่งในโลกย่อมมีทั้งคุณและโทษอยู่ในตัวเอง จึงต้องมีความระมัดระวังในการใช้ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด และมีโทษน้อยสุด

Tags: